พิธีลงจอบแรก ในการสร้างถนนสายสำคัญ...
ในอดีตการเดินทางขึ้นไปนมัสการองค์พระธาตุดอยสุเทพเป็นไปด้วยความลำบาก จะต้องเดินเท้าขึ้นไปใช้เวลาหลายชั่วโมง
จนกระทั่งปี พ.ศ.2460 ทางราชการได้ทำการสำรวจเพื่อเตรียมการก่อสร้างแต่งบประมาณไม่เพียงพอจึงถูกระงับไว้
ต่อมาหลวงศรีประกาศและเจ้าแก้วนวรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ จึงได้จัดพิมพ์ใบปลิวเกี่ยวกับการบอกบุญจะสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ออกแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วภาคเหนือ
ครูบาศรีวิชัยได้ถือเอาฤกษ์ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 ณ บริเวณเชิงดอย (บริเวณวัดศรีโสดา) 🚧 ทำพิธีลงจอบแรกการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพก็เริ่มขึ้น
โดยครูบาเถิ้ม วัดแสนฝางเป็นผู้สวดเจริญพระพุทธมนต์และสวดชัยมงคลคาถา
พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้ลงจอบแรกเป็นพิธี
ครูบาศรีวิชัยท่านลากมูลดิน เป็นพิธีเอาฤกษ์เอาชัย
จากนั้นเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จึงได้ลงจอบแรกประเดิม ติดตามด้วยหลวงศรีประกาศ คุณนายเรือนแก้ว เจ้านายฝ่ายเหนือ พ่อค้าคหบดี ต่างร่วมลงจอบแรกประเดิมการสร้างทางอย่างทั่วถึง
เมื่อข่าวเริ่มกระจายไปถึงมือศรัทธาของประชาชน ชาวล้านนาหลายอำเภอ หลายจังหวัดทางภาคเหนือต่างมาช่วยสนับการสร้างทางในครั้งนี้อย่างมากมาย
การก่อสร้างทางเป็นหน้าที่หลักของหลวงศรีประกาศ เถ้าแก่โหงวและเจ้าแก้วนวรัฐ แล้วยังคอยดูแลเรื่องเสบี่ยงอาหารด้วย 👦👩👶👮👳👷🙏ส่วนครูบาเถิ้ม และขุนกัณฑ์ ชนะนนท์ ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้นำแผ้วผาง บุกเบิกเส้นทางนอกจากนั้นบรรดาชาวเมืองเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าคหบดี ทหาร ตำรวจ ชาวบ้าน ในเขตแขวงเมืองเชียงใหม่ ต่างมาร่วมกันเป็นหมู่คณะ
🗻 ในวันที่ 30 เมษายน 2478 พิธีเปิดถนนประเดิมเส้นทางเป็นครั้งแรก โดยใช้รถยนต์ของเถ้าแก่โหงว แล้วอาราธนานิมนต์ครูบาศรีวิชัยนั่งขับขึ้นสู่ดอยสุเทพ
🖒🖒ปัจจุบัน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004 (ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ - ดอยสุเทพ) ช่วงตั้งแต่ประตูเมืองเชียงใหม่ ถึงสวนสัตว์เชียงใหม่เรียกว่า ถนนห้วยแก้ว แต่ช่วงอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยถึงดอยสุเทพเรียกว่า ถนนทางขึ้นดอยสุเทพ หรือ ถนนศรีวิชัย ปัจจุบันมีลักษณะเป็นถนนผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจรสวนทาง ขึ้นไปบนภูเขาที่สูงชัน ผ่านดอยสุเทพ จนถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ระยะทางที่อยู่ในความควบคุมของ แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 2 สำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่)
**ขอบคุณ ข้อมูลและภาพจาก เว็บไซด์ Chiangmai Daily และ Chiangmainew