top of page

นิทรรศการภายนอกอาคาร

1

2

3

4

5

7

6

8

1.รถยนต์ตรวจการพระที่นั่งฯ

รถยนต์นั่งตรวจการณ์

ยี่ห้อ TOYOTA รุ่น Landcuruser FJ55 station wagon

หมายเลข:20-7511-0600-76-1

หน่วยงานที่มอบให้:ศูนย์สร้างทางลำปาง

   

    กรมทางหลวงจัดถวายเป็นรถยนต์พระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับขณะทรงทอดพระเนตรโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 ตอนลำปาง-เด่นชัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521

    ขณะนี้พระราชพาหนะรับเสด็จคันนี้ มอบให้โดย ศูนย์สร้างทางลำปาง จัดแสดงไว้ ณ พิพิธภัณฑ์กรมทางหลวง โดยจอดจัดแสดงฯ ไว้ใต้อาคารพิพิธภัณฑ์กรมทางหลวง พื้นที่ดังกล่าวได้ทำแท่นหินแกรนิตอย่างดีวางเป็นฐานพื้น และใช้คานยกรถขึ้น เพื่อคงสภาพเก็บไว้ได้นาน ทั้งตัวรถ และสภาพยาง นอกจากนี้ ยังมีการติดข้อมูลครั้งที่พระองค์ท่านทรงเสด็จฯ พระราชดำเนินมา

2.รถแทรกเตอร์ไอน้ำ

รถแทรกเตอร์ไอน้ำ

หน่วยงานที่มอบให้:แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 3

   

      แทรกเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้ในงานเกษตรกรรมในระยะแรกนั้นเป็นแทรกเตอร์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำและใช้ ล้อเหล็กซึ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ขีดความสามารถในการใช้งานจำกัดเฉพาะการฉุดลากเท่านั้น ลักษณะ การใช้งานจึงเหมือนการใช้แรงสัตว์ต่างกันตรงที่แทรกเตอร์ให้กำลังงานมากกว่า แทรกเตอร์ลักษณะดังกล่าว ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 สืบเนื่องกันนานถึง 50 ปี ในปี ค.ศ.1856 คาดว่า แทรกเตอร์ จึงได้ถูกใช้ใน ประเทศอังกฤษ โดยมีความหมายว่า เครื่องลากจูง (Traction engine) ต่อมาในปี ค.ศ.1890 คำว่าแทรกเตอร์ ก็ได้ถูกจดลิขสิทธิ์ของเครื่องยนต์ลากจูงด้วยไอน้ำที่ใช้ตีนตะขาบในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรถแทรกเตอร์ที่ใช้ เครื่องจักรไอน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจึงมีผู้พยายามนำเอาเครื่องยนต์ก๊าซโซลีนมาติดตั้งกับแทรกเตอร์ ความพยายามนี้ประสบผลสำเร็จในปี ค.ศ.1890 เมื่อได้ประดิษฐ์แทรกเตอร์ที่ใช้กับเครื่องยนต์ก๊าซโซลีนสำเร็จ โดยที่มีขนาดและน้ำหนักลดลงแต่ให้กำลังม้าพอ ๆ กับแทรกเตอร์ที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ ในปี ค.ศ.1892 John Froelich ได้ติดตั้งเครื่องยนต์ก๊าซโซลีนจำนวนสูบเพียง 1 สูบ ขนาดกำลังงาน 15 กิโลวัตต์บนโครงของ เครื่องยนต์ลากจูงไอน้ำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแทรกเตอร์คันแรกที่ติดตั้งเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน (internal combustion)

3.รถเกลี่ยแบบลากจูง

รถเกลี่ยแบบลากจูง

ยี่ห้อ Caterpillar รุ่น No.66grader

หมายเลข: กถ1

หน่วยงานที่มอบให้:สำนักเครื่องกลและสื่อสาร

   

   รถเกลี่ยดิน ใช้กันอย่างแพร่หลายในการปรับหน้าดินของสถานที่ก่อสร้าง รถเกลี่ยดินมีใบมีดด้านหน้าซึ่งสามารถดันหินไปด้านหน้าได้ ซึ่งสามารถปรับหน้าดินของสถานที่ก่อนสร้างให้อยู่ในระดับเดียวกัน และเป็นที่นิยมในการก่อสร้างทาง, วิศวกรรมน้ำและไฟฟ้า, การปรับหน้าดินไร่นา, การสร้างท่าเรือ, การสร้างเหมืองและอื่นๆ

4.รถบดไอน้ำแบบสามล้อ

รถบดไอน้ำแบบสามล้อ

ยี่ห้อ Hengchel

หมายเลข:30-3190-003787-0037-37

หน่วยงานที่มอบให้:แขวงการทางภูเก็ต

   

     รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้งขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ข้างหลัง เครื่องจักรประเภทนี้เหมาะส าหรับกอง วัสดุที่ไม่ยึดติดกันเช่น ดินลูกรัง, ก้อนกรวด, หินปนทราย, ดินทราย, หินก้อนเล็กและอื่นๆ พร้อมกับแรงหนี ศูนย์กลางบนฐาน, ชั้นรองฐาน, การสร้างเขื่อน, ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะที่สุดกับการสร้างที่ต้องการ คุณภาพสูงเช่น ทางด่วน, สนามบิน, ท่าเรือ, เขื่อนและฐานของโรงงานอุตสาหกรรม

5.รถบดไอน้ำแบบสามล้อ

รถบดไอน้ำแบบสามล้อ

ยี่ห้อ Alabalet Rantigny รุ่น BM

หมายเลข:

หน่วยงานที่มอบให้:แขวงการทางกระบี่

   

    รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้งขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ข้างหลัง เครื่องจักรประเภทนี้เหมาะส าหรับกอง วัสดุที่ไม่ยึดติดกันเช่น ดินลูกรัง, ก้อนกรวด, หินปนทราย, ดินทราย, หินก้อนเล็กและอื่นๆ พร้อมกับแรงหนี ศูนย์กลางบนฐาน, ชั้นรองฐาน, การสร้างเขื่อน, ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะที่สุดกับการสร้างที่ต้องการ คุณภาพสูงเช่น ทางด่วน, สนามบิน, ท่าเรือ, เขื่อนและฐานของโรงงานอุตสาหกรรม

6.รถขุดดินตีนตะขาบ

รถขุดดินตีนตะขาบ

ยี่ห้อ RUSTON

หมายเลข: 81-65212-0001-35

หน่วยงานที่มอบให้:สำนักเครื่องกลและสื่อสาร

   

  รถขุดไฮดรอลิคเป็นเครื่องจักรกลอีกประเภทหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายวัสดุซึ่งสามารถทำการขุดและตักแล้วเคลื่อนย้ายไปเท โดยทั่วไปจะมีแขนยื่นบุ้งกี๋หรือที่จับออกไปขุดและตัก และจะหมุน ส่วนบนของตัวรถไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วก็จะเทวัสดุออกจากบุ้งกี๋หรือที่จับ ส่วนด้านล่างของตัวรถที่ สัมผัสกับพื้นจะไม่เคลื่อนย้ายสำหรับการทำงานและวงจรรถขุดตัก

7.รถตักดินตีนตะขาบ

รถตักดินตีนตะขาบ

ยี่ห้อ DROTT รุ่น Skid shovel 6K3

หมายเลข:

หน่วยงานที่มอบให้:ศุนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 2 (ขอนแก่น)

   

    รถดันตีนตะขาบ ก็คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนกำลังของเครื่องยนต์ให้เป็นกำลังขับเคลื่อน โดยส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปหมุนล้อเฟือง (sprocket) เพื่อไปขับชุดสายพานตีนตะขาบให้เคลื่อนที่ไปและทำให้แผ่นตีนตะขาบซึ่งติดอยู่กับสายพานตีนตะขาบตะกุยไปบนพื้นทำให้ตัวรถเคลื่อนที่ไป

8.สะพานเหล็กแบบถอดประกอบได้

สะพานเหล็กแบบถอดประกอบได้

(Bailey Bridge) 

“สะพานเบลีย์” เป็นสะพานสำเร็จรูปที่คิดค้นโดย เซอร์ โดนัลด์ โคลแมน เบลีย์ ( Sir Donald Coleman Bailey) ก็เลยใช้ชื่อท้ายของท่าน “Bailey” มาเป็นชื่อสะพานแบบนี้เพื่อยกย่องในฐานะผู้คิดค้น สะพานเบลีย์ถูกสร้างเพื่อใช้ทางการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และก็เป็นที่นิยมใช้กันกว้างขวางในวงการวิศกรทหารอังกฤษ ไปจนถึงแคนาดา ทั้งการขนย้ายรถถังยุทโธปกรณ์ และกำลังพล ข้ามแม่น้ำเซอร์ เบลีย์ เป็นข้าราชการของสำนักงานสงครามอังกฤษที่ชื่นชอบโมเดลสะพานเป็นงานอดิเรก แล้วก็ได้นำเสนอโมเดลสะพานชุดหนึ่งต่อผู้บังคับบัญชา หลังจากนั้น ทีมวิศวกรหลวงก็ถูกเรียกมารวมตัวกันเพื่อต่อยอดโมเดลสะพานให้กลายเป็นจริง มีการทดสอบหลายครั้งหลายรูปแบบ ทั้งแบบสะพานแขวน สะพานโค้ง สะพานราบ ตัวสุดท้ายนี่แหละคุณผู้อ่าน ที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน จนได้สะพานต้นแบบสะพานแรกที่ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ทางตอนใต้ของอังกฤษ และก็มีสะพานเบลีย์ในรูปแบบอื่นๆตามมาอีกหลายแบบหลังจากทดสอบจนพอใจแล้ว ก็เริ่มใช้งานจริงในปี 1942 และมีใช้อีกหลายสะพานในปี 1944 ในวันดีเดย์ (D-Day) หลังจากทางสหรัฐอนุมัติแบบ ก็เริ่มก่อสร้างอย่างเร่งด่วนเพื่อใช้งานในกองทัพสหรัฐ และก็ใช้อย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน

“สะพานเบลีย์” มีประโยชน์มาก ทั้งใช้ในทางการทหาร และก็ยังใช้ในยามปกติเพื่อประชาชนอย่างที่ตอนนี้เราเห็น “สะพานเบลีย์” ลงประจำการในหลายพื้นที่น้ำท่วม แถมยังปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ก่อสร้างเร็ว ง่ายในการเคลื่อนย้าย ขนส่ง และติดตั้ง

Please reload

    ประกอบไปด้วย รถยนต์ เครื่องจักร ที่ใช้ในภาระกิจงานก่อสร้างทางตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน รวมถึงแบบจำลองของสะพานแบบถอดประกอบได้ (สะพานแบรี่ Bailey bridge) อีกทั้งพื้นทางเดินรอบๆ สวนยังใช้วัสดุแตกต่างตามลักษณะการใช้งานของ เครื่องจักร เช่น กรวด แอลฟัลท์ รวมไปถึงพรรณไม้ที่นำมาปลูกหลากหลายชนิด ตามที่ทางหลวงตัดผ่านในแต่ละภูมิภาค 
bottom of page