top of page

ตราสัญลักษณ์ประจำกรมทางหลวง


ตราสัญลักษณ์ประจำกรมทางหลวง


ทางหลวงเป็นปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาประเทศ ในอดีตนับย้อนหลังกลับไปร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเมืองของเรายังเป็นสังคมของชนบทเกือบทั่วทั้งประเทศ การเดินทาง ต้องใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติในการเดินทาง ในทางบกในระยะทางไกลๆ ต้องใช้ ช้าง เป็นพาหนะ พอเริ่มมีการก่อสร้างทาง กรมทางหลวง ยังใช้ช้างช่วยในการสร้างทางด้วย ต่อมาภายหลังการเดินทางพัฒนาขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช้างในเป็นพาหนะอีกต่อไป การสร้างทางก็มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยกว่ามาทดแทน ฉะนั้น ช้างจึงต้องวางงาลงแต่เดิมตราสัญลักษณ์ประจำกรมทาง ก่อนปี พ.ศ. 2484 สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะดังภาพ


ภาพ ตราสัญลักษณ์เดิมของกรมทาง ก่อนปี พ.ศ. 2484

(ภาพจากหนังสือที่ระลึกในงานฉลองวันคล้ายวันสถาปนากรมทางหลวง ครบ 84 ปี 1 เมษายน 2539)



และหลังจากนั้น หลวงเดชาติวงศ์วรารัตน์ (พันตรี ม.ล.กรี เดชาติวงศ์) อธิบดีกรมทาง ลำดับที่ 4 จึงผู้คิดตราสัญลักษณ์ของกรมทางขึ้นเป็นลักษณะรูปสัปคับ (สับปะคับ คือ ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง) และงาช้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ ตราสัญลักษณ์ประจำกรมทาง ยังพัฒนาต่อมาเรื่อยจนถึงรูปแบบปัจจุบันที่ใช้งานอยู่

ภาพ ตราสัญลักษณ์ๆประจำกรมทาง ปี พ.ศ. 2485

(ภาพจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 72 หน้า 2249 ฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2485)






ภาพ ตราสัญลักษณ์ๆประจำกรมทางหลวงแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2495

(ภาพจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอนที่ 48 หน้า 918 ฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2495 )




ภาพ ตราสัญลักษณ์ประจำกรมทางหลวง ปี พ.ศ. 2508

(ภาพจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 113 หน้า 1243 ฉบับลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2508)


โพสต์ที่น่าสนใจ
bottom of page